การควบรวมกิจการของ DTAC และ TRUE ทำได้จริง

DTAC และ TRUE
Spread the love

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา หลาย ๆ คนอาจจะได้ทราบข่าวการเข้าซื้อกิจการของยักษ์ใหญ่แห่งวงการการสื่อสาร และโทรคมนาคมของประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จริง ๆ แล้วดีลที่กล่าวอ้างนั้น ไม่ใช่เป็นการเข้าซื้อกิจการอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ แต่เป็นการควบรวมกิจการค่าย DTAC และ TRUE เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งสามารถทำได้ และไม่ขัดต่อกฎหมาย แล้วกรณีนี้จะส่งผลอย่างไรกับประชาชน? จะเป็นการผูกขาดทางการตลาดหรือไม่? ศึกษาเพิ่มเติมได้เลยที่นี่!

การควบรวมกิจการระหว่างทรู และดีแทค หากไม่ใช่การเข้าซื้อกิจการ ตามกฎหมายแล้วสามารถทำได้จริง โดยจะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัท ผลปรากฏว่า เสียงเกินกว่า 90% ให้ความเห็นชอบ จึงเกิดการควบรวมกิจการดังกล่าว ส่วนทาง กสทช. ได้มีมติเสียงข้างมากเป็นการรับทราบถึงการรวมธุรกิจของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยต้องมีเงื่อนไขในการกำกับดูแลด้วยมาตรการเฉพาะในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม

ดีลดีแทค-ทรู ส่งผลอย่างไร?

การควบรวมบริษัททั้งสอง นับว่าเป็นการรวมตัวกันเพื่อความแข็งแกร่ง และช่วยต่อยอดให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยเข้าสู่ระดับสากลมากขึ้น โดยไม่ได้ส่งผลกระทบในเรื่องการคิดค่าบริการของประชาชน (เนื่องจากมีเงื่อนไขการกำกับดูแลจาก กสทช. อยู่) และอาจทำให้เกิดบริการที่หลากหลาย ซึ่งตอบโจทย์ต่อการใช้งานของประชาชนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นประโยชน์ของการควบรวมบริษัท จึงเป็นผลดีต่อตัวผู้ใช้งานมากกว่า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีการผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดเป็นบริการระบบดิจิทัล หรือ Web3 ที่ทันสมัย และน่าใช้งานมากกว่า

TRUE และ DTAC

2 ค่ายทรู ดีแทคผนึกกำลัง เป็นการผูกขาดทางการตลาดหรือไม่?

การที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอันดับที่ 2 และ 3 ของไทยได้ผนึกกำลังกัน อาจทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สภาพตลาดแบบกึ่งผูกขาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทางสำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการควบคุมด้วยขอบเขตอำนาจทางกฎหมายในการป้องกันการผูกขาดด้วยการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่เกินความจำเป็น การสร้างมาตรการในการกำกับดูแลด้านราคา การให้สิทธิ์ลูกค้าในการเลือกใช้ (แยกแบรนด์เป็นระยะเวลา 3 ปี) การคงคุณภาพด้านการให้บริการ การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน และขจัดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital divide) รวมทั้งการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดด้วย ในอนาคตอันใกล้นี้ อาจกลายเป็นจุดกำเนิดของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศไทยก็เป็นได้

Leave a comment

Your email address will not be published.