การควบรวมกิจการของ DTAC และ TRUE ทำได้จริง

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา หลาย ๆ คนอาจจะได้ทราบข่าวการเข้าซื้อกิจการของยักษ์ใหญ่แห่งวงการการสื่อสาร และโทรคมนาคมของประเทศไทย ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จริง ๆ แล้วดีลที่กล่าวอ้างนั้น ไม่ใช่เป็นการเข้าซื้อกิจการอย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ แต่เป็นการควบรวมกิจการค่าย DTAC และ TRUE เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งสามารถทำได้ และไม่ขัดต่อกฎหมาย แล้วกรณีนี้จะส่งผลอย่างไรกับประชาชน? จะเป็นการผูกขาดทางการตลาดหรือไม่? ศึกษาเพิ่มเติมได้เลยที่นี่!

การควบรวมกิจการระหว่างทรู และดีแทค หากไม่ใช่การเข้าซื้อกิจการ ตามกฎหมายแล้วสามารถทำได้จริง โดยจะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัท ผลปรากฏว่า เสียงเกินกว่า 90% ให้ความเห็นชอบ จึงเกิดการควบรวมกิจการดังกล่าว ส่วนทาง กสทช. ได้มีมติเสียงข้างมากเป็นการรับทราบถึงการรวมธุรกิจของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยต้องมีเงื่อนไขในการกำกับดูแลด้วยมาตรการเฉพาะในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม

ดีลดีแทค-ทรู ส่งผลอย่างไร?

การควบรวมบริษัททั้งสอง นับว่าเป็นการรวมตัวกันเพื่อความแข็งแกร่ง และช่วยต่อยอดให้อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทยเข้าสู่ระดับสากลมากขึ้น โดยไม่ได้ส่งผลกระทบในเรื่องการคิดค่าบริการของประชาชน (เนื่องจากมีเงื่อนไขการกำกับดูแลจาก กสทช. อยู่) และอาจทำให้เกิดบริการที่หลากหลาย ซึ่งตอบโจทย์ต่อการใช้งานของประชาชนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นประโยชน์ของการควบรวมบริษัท จึงเป็นผลดีต่อตัวผู้ใช้งานมากกว่า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีการผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดเป็นบริการระบบดิจิทัล หรือ Web3 ที่ทันสมัย และน่าใช้งานมากกว่า

TRUE และ DTAC

2 ค่ายทรู ดีแทคผนึกกำลัง เป็นการผูกขาดทางการตลาดหรือไม่?

การที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมอันดับที่ 2 และ 3 ของไทยได้ผนึกกำลังกัน อาจทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สภาพตลาดแบบกึ่งผูกขาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทางสำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการควบคุมด้วยขอบเขตอำนาจทางกฎหมายในการป้องกันการผูกขาดด้วยการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่เกินความจำเป็น การสร้างมาตรการในการกำกับดูแลด้านราคา การให้สิทธิ์ลูกค้าในการเลือกใช้ (แยกแบรนด์เป็นระยะเวลา 3 ปี) การคงคุณภาพด้านการให้บริการ การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน และขจัดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (Digital divide) รวมทั้งการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดด้วย ในอนาคตอันใกล้นี้ อาจกลายเป็นจุดกำเนิดของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศไทยก็เป็นได้

เอเซีย ประกันภัย ประกันภัยของคนเอเชีย

บริษัทเอเชียประกันภัย มีชื่อจดทะเบียนอย่างเป็นทางการว่า บริษัทเอเชียประกันภัย 1950 จำกัด มหาชน เป็นอีกหนึ่งธุรกิจประกันภัยที่ประสบความสำเร็จ จนก้าวขึ้นสู่ธุรกิจมหาชน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งที่บริษัทแห่งนี้ มีตัวเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับการประกันภัยอยู่หลายชนิดด้วยกัน ทั้งการประกันอัคคีภัย, ประกันเบ็ดเตล็ด, ประกันภัยรถยนต์ และประกันภัยทางทะเลและขนส่ง ครอบคลุมทุกชนิดประกันภัยที่จำเป็นต่อชีวิตและการดำเนินธุรกิจ

ประกันอัคคีภัยของเอเซีย ประกันภัย

กรมธรรม์ที่อยู่อาศัยรวมภัยพิบัติ ประกันชนิดนี้เป็นการคุ้มครองที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย จากไฟไหม้ หรือภัยพิบัติ ตามข้อตกลงและเงื่อนไข ครอบคลุมความเสียหายในกรณีที่เกิดฟ้าผ่า หรือภัยจากการเฉี่ยวชนจากยานพาหนะ อีกทั้งยังมีความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติม จ่ายค่าที่พักชั่วคราว และประกันภัยพิบัติ ตามกำหนด

ประกันภัยรถยนต์ของเอเซีย ประกันภัย

ตามปกติแล้ว ประกันภัยรถยนต์นั้นจะมีทั้งที่เป็นประเภทบังคับทำ (พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยทางรถยนต์) และประกันโดยสมัครใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อยๆ ได้แก่ การประกันภัยรถยนต์ ประเภทที่ 1, การประกันภัยรถยนต์ ประเภทที่ และการประกันภัยรถยนต์ ประเภทที่ 3 โดยแต่ละประเภทจะมีลักษณะพิเศษในด้านความคุ้มครอง แตกต่างกันไป

ประกันภัยเบ็ดเตล็ดของเอเชียประกันภัย

ประกันภัยในหมวดนี้ ได้แก่ ประกันภัยการเดินทาง 2+ Perfect Holiday คุ้มครองอุบัติเหตุระหว่างการเดินทาง รวมไปถึงการสูญหายของทรัพย์สินในระหว่างการเดินทาง ประกันที่อยู่อาศัย และประกันภัยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ โดยเบี้ยประกันภัยประเภทนี้จะมีอัตราลดหลั่นเป็นขั้นบันได ตามจำนวนวันของการเดินทางของผู้สมัครกรมธรรม์ นอกจากนี้ประกันภัยเบ็ดเตล็ดของที่นี่ ยังมีแคมเปญ และประกันภัยราคาเดียว PA333 มีค่าเบี้ยประกันราคาต่ำที่ 333 บาท และได้รับการชดเชยในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพเป็นการถาวร

ประกันภัยทางทะเลและขนส่งของเอเชียประกันภัย

ประกันภัยทางทะเลและขนส่งของที่นี่ มีคุณสมบัติโดดเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับการทำประกันการขนส่งกับบริษัทในต่างประเทศในแง่ของเบี้ยประกัน เพราะที่นี่เมื่อเปรียบเทียบแล้ว จะมีอัตราถูกกว่า และยังสามารถเรียกค่าสินไหมชดเชยคืนได้ง่ายกว่าบริษัทในต่างประเทศอีกด้วย

ประกันทั้ง 4 ประเภทของบริษัท ประกันภัย เป็นอีกหนึ่งช่องทางเลือก สำหรับผู้บริโภคที่มองหาความมั่นคง และความปลอดภัยไว้ก่อน เพราะอุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และเกิดขึั้นได้โดยไม่คาดคิด การมีประกันภัยไว้ครอบครอง ทำให้เราไม่ต้องกังวลมากจนเกินเหตุ

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้มีบริษัทรับทำประกันภัยมากมาย และแต่ละบริษัทเองก็ออกแคมเปญ พร้อมแพคเกจที่ดึงดูดใจลูกค้าเป็นอย่างมาก ผู้บริโภคจึงควรแสวงหาประกันที่เหมาะสมกับสถานะของตัวเองมากที่สุด และไม่จำเป็นต้องทำประกันแบบพร่ำเพรื่อมากเกินความจำเป็น เพราะการจ่ายค่าเบี้ยประกันอาจเป็นภาระในภายหลังได้

ช่องทางสำหรับการติดต่อ และร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาที่พบ ลูกค้าของเอเชียประกันภัยสามารถส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามาได้ ทั้งทางจดหมาย, ทางอีเมล์, ทางโทรศัพท์ และร้องเรียนได้ด้วยตนเอง โดยสามารถส่งเรื่อง พร้อมแนบหลักฐานประกอบการร้องเรียน ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน, หนังสือมอบอำนาจ, หลักฐานอื่นๆ เข้ามาได้ที่บริษัทเอเชียประกันภัย เลขที่ 183 รีเจ้นท์เฮ้าส์​ ราชดำริ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-869-3399 ต่อหมายเลขภายใน 1601 หรือ 1104 และที่อยู่อีเมล์ complaint@asiainsurance.co.th

นอกจากนี้แล้ว ยังมีรายละเอียดในส่วนอื่นๆ เช่น ข้อปฏิบัติสำหรับลูกค้า เมื่อพบกับอุบัติเหตุ, วิธีการเคลมค่าสินไหม, วิธีการสั่งซื้อประกัน ทั้งช่องทางออนไลน์และผ่านตัวแทนฯ โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดทั้งหมดได้ ผ่านช่องทางหน้าเว็บไซต์ของเอเซีย ประกันภัย พร้อมติดตามแคมเปญอัพเดท และข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของลูกค้าได้เช่นกัน https://www.asiainsurance.co.th/en/